Pumpkin

วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2558

ภัยจากขนมหน้าโรงเรียน

ไม่ว่าจะเด็กสมัยนี้ หรือเด็กสมัยก่อน อาหารและขนมหน้าโรงเรียนมันช่างน่ากินไปหมดทุกอย่าง
ทั้งสีสัน และรสชาติ ซึ่งอาหารและขนมหน้าโรงเรียนส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นรถเข็นของพ่อค้าแม่ค้า
ที่มาปรุงอาหารให้เด็กๆได้เห็นกันตรงนั้นเลย
          แต่ใครจะคิดว่าอาหารเหล่านี้ ซึ่งทั้งเด็กและผู้ใหญ่อย่างเราก็อาจจะซื้อกินกันจนชิน กลับ
เป็นภัยร้ายต่อสุขภาพในระยะยาว
อ.พญ.อรพร ดำรงวงศ์ศิริ หน่วยโภชนวิทยา ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้อธิบายเรื่อง
อาหารหรือขนมหน้าโรงเรียน  สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1.ประเภทเครื่องดื่มมีรสหวาน น้ำอัดลม,น้ำหวาน,น้ำปั่น
2.ประเภท ปิ้ง ย่าง  เช่น ลูกชิ้นปิ้ง, หมูย่าง
3.ประเภท ขนมหวาน เช่น ขนมโตเกียว,ขนมกรอบ

สิ่งที่ต้องระวังจากอาหารและขนมเหล่านี้คือ
1.ความสะอาด เพราะพ่อค้าแม่ค้าปรุงตรงนั้นและไม่มีการปกปิดหรือแพคเกจเพื่อความปลอดภัย
2.สารปนเปื้อน เช่น หมูปิ้ง หรือลูกชิ้นปิ้ง,สีผสมอาหาร หรืออาหารที่ควรอยู่ในสภาพเย็น และสด  แต่มาขายในสภาพอากาศร้อน  เช่น ซูชิ
3.สารกันรา ,กันบูดที่ใส่ไปในอาหารเพื่อให้สามารถอยู่ได้นานๆ

อาหารและขนมเหล่านี้ ไม่ได้ส่งผลกระทบให้ผู้ปกครองเห็นอย่างทันทีเช่น อาการท้องเสียแต่สิ่งเหล่านีเป็นผลกระทบกับเด็กในระยะยาว
"ชานมไข่มุก"  เครื่องดื่มยอดนิยมของเด็กๆ สมัยนี้ อาจารย์หมออรพรชี้แจงให้ฟังว่า เป็นเครื่องดื่มที่ให้พลังงานสูงประมาณ 200-300 แคลอรี่เท่ากับข้าว 4 ทัพพี  ส่วนไข่มุกที่เพิ่มไป ก็อาจจะติดคอเด็กเป็นอันตรายได้
โดยรวมแล้วคุณค่าทางโภชนาการค่อนข้างน้อยมาก เราไม่สามารถห้ามได้แต่ต้องให้ข้อมูลเพื่อให้ผู้ปกครองบอกลูกๆ หรือกำหนดเทคนิคในการให้ค่าขนมกับลูก ให้ตังเหลือน้อยลงหลังจากกินข้าวเพื่อที่จะไม่นำไปซื้อเครื่องดื่มดังกล่าว
อาหารประเภท "ของทอด ลูกชิ้นทอด"  แม้จะกินไม่มากแต่การกินไขมันหรือของมัน นั้นให้พลังงานสูงมากบางทีเทียบเท่ากับข้าว 1 จานเลยทีเดียวก็มีโอกาสเป็นโรคอ้วนนอกจากนี้น้ำมันที่ใช้ทอดก็มักจะใช้ซ้ำ ซึ่งการใช้น้ำมันทอดซ้ำในการประกอบอาหารมันจะมีกรดไขมันที่ไม่ดีที่เรียกว่า กรดไขมันชนิดทรานส์ (Trans-fatty acids)ซึ่งจะทำให้ร่างกายของ เรามี "ไตรกลีเซอไรด " และคอเลสเตอรอลสูง รวมทั้งไขมันในเลือดสูงขึ้น
ไม่เกี่ยวกับความอ้วนเพราะเด็กผอมๆ ก็สามารถไขมันในเลือดสูงได้เช่นกันอาหารหรือขนมที่มีรสหวานมาก ก็จะให้พลังงานสูง ทำให้เด็กกลายเป็นเด็กอ้วนหรือเด็กที่กินไม่เก่ง เมื่อกินขนมเสร็จกลับบ้านก็ไม่อยากกินข้าว ก็ทำให้เด็กขาดสารอาหารซึ่งการบริโภคอาหารรสหวานจะทำให้เราหายหิว เพราะความหวานจะไปกดความหิว
และเด็กก็ไม่อยากกินข้าวเย็น โดยอาหารประเภทให้ความหวานจะกระตุ้นให้ตับอ่อนทำงานหนัก ผลก็คือเด็กคนนั้นมีโอกาสเป็นเบาหวานได้ง่ายในอนาคตเด็กๆ ที่กินแต่ "น้ำอัดลม" มีแก๊ส เมื่อกินลงไปในกระเพาะจะเป็นการเพิ่มกรดลงในกระเพาะอาหาร จะส่งผลเสียมากกับเด็กที่กินแต่น้ำอัดลมและกินข้าวน้อยหรือไม่ยอมกินข้าว เพราะเวลาเราไม่กินข้าวกรดในกระเพาะอาหารก็จะหลั่งออกมาอยู่แล้วกินน้ำอัดลมไปเพิ่มกรดในกระเพาะอีก
เด็กเหล่านี้จะมีอาการปวดท้อง บ่อยๆ เป็นๆหายๆ คล้ายอาการของโรคกระเพาะหรือบางคนก็เป็นโรคกระเพาะ หรือกระเพาะทะลุก็อาจจะเป็นไปได้ รวมทั้งความหวานก็อาจจะทำให้เด็กเกิดโรคอ้วนได้เช่นเดียวกัน
ข้อแนะนำของคุณหมอ ไม่ควรให้เด็กกินน้ำอัดลมเลย ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการเลย
           น้ำแข็งใสใส่ขนมปังใส่นม ต้องระวังมักจะใส่น้ำหวานมากไป และเป็นน้ำหวานเข้มข้นทำให้เด็กติดหวาน ตัวน้ำแข็งที่ขายอยู่ตามพื้นที่สาธารณะเป็นแหล่งของเชื้อโรค ที่อาจจะทำให้เด็กท้องเสียได้
อาจารย์หมอให้ความเห็นว่า "แซนวิส" เป็นอาหารว่างที่ดีสำหรับเด็ก เพราะขนมปัง
เป็นแป้งที่มีวิตามินบางตัว แต่ไส้ของแซนวิสควรเลือกที่ให้ประโยชน์ เช่น ทูน่า ,แฮม ,หมูหยองแต่สำหรับแซน  วิสมีเนยและแยมสีๆ เด็กที่รับประทานเข้าไปก็จะได้แค่ แป้งกับน้ำตาลทั้งนี้ยังต้องคิดถึงทั้งความสะอาดในการบรรจุด้วย
              สำหรับเด็กบางคนจะบริโภคอาหารประเภทซ้ำๆเดิมๆ เช่น กินแต่ข้าวไข่เจียวทุกวันกินลูกชิ้นทอดทุกวันอาจจะเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารบางตัว เพราะการกินอาหารควรกินหลากหลายเพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วนแร่ธาตุที่เด็กขาดได้บ่อย คือ วิตามินซี และ ธาตุเหล็กโดยเด็กที่ไม่กินผลไม้ เดือน หรือ 2 เดือน ก็จะมีโอกาสขาดวิตามินซีหรือเด็กที่ไม่กินเนื้อสัตว์หรือตับก็อาจจะขาดธาตุเหล็ก โดยการจัดอาหาร หรือของว่าง ที่ผู้ปกครองเห็นว่ามีประโยชน์จากที่บ้านให้ลูกนำไปรับประทานที่โรงเรียนนั้น อาจารย์หมอเห็นว่าเป็นการปลูกฝังนิสัยที่ดีในการรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะโดยควรเริ่มตั้งแต่อายุ  2-3 ขวบ ซึ่งจะเป็นเวลาที่เหมาะในการปลูกฝังลักษณะการกินอาหารที่เหมาะสม 

เเหล่งที่มา : http://www.oknation.net/blog/RamaChannel-Tv/2013/01/16/entry-1



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น